ผลงานแห่งความสำเร็จ 4 รางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่เขียนขึ้น เป็นบทภาพยนตร์จากประสบการณ์จริงของผู้ กำกับ โอลิเวอร์ สโตน คือภาพยนตร์ที่เข้มข้น ทรงพลัง และเป็นความทรงจำเสมือนฝันร้ายที่ไม่มีวันสลัดทิ้งไปได้ของทหารทุกคนที่ต้อง สูญสิ้นความบริสุทธิ์ของจิตใจของพวกเขาไปในป่ารบของเวียดนาม หลังมาถึงเวียดนามได้ไม่นาน คริค เทย์เลอร์ (ชาร์ลี ชีน) ทหารหนุ่มอเมริกันใสซื่อผู้ค้นพบว่าเขาไม่เพียงแต่ต้องสู้รบกับเวียดกงเท่า นั้น แต่ยังต้องต่อสู้ความหวาดกลัวที่ค่อยๆกัดกินหัวใจ ความเหนื่อยล้าสาหัส และอารมณ์เกรี้ยวกราดที่พร้อมระเบิดได้ทุกเมื่อ ขณะเดียวกันหัวหน้าทั้งสองของเขา (ทอม เบอเรนเจอร์ และ วิลเล็ม ดาโฟ สองนักแสดงที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ด้วยกันทั้งคู่) ต่างต้องห้ำหั่นทั้งฝ่ายศัตรูและก่อสงครามกันเอง ทั้งหมดนี้มีผลให้เทย์เลอร์ที่กำลังสับสน ขัดแย้งและค่อยๆซึมซับความเกลียดชัง เริ่มปิดกั้นต่อโลกแห่งความจริง และไร้ซึ่งความรู้สึกต่อทุกสิ่ง แม้กระทั่ง…ชิวิต! พลาทูนนับเป็นหนังสงครามเวียดนามเรื่องหนึ่งที่เล่าเรื่องของสงครามเวียดนาม โดยโฟกัสไปที่ทหารอเมริกันกลุ่มหนึ่งที่ได้เข้าไปปฏิบัติภาระกิจในเวียดนาม ผู้กำกับโอลิเวอร์ สโตน ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของสงครามเวียดนามด้วยสายตาของผู้เคยมีส่วนร่วมอย่างแท้ จริง และพล็อตเรื่องแบบพลาทูนนี้เองที่เป็นแบบฉบับของหนังสงครามเวียดนามในอีก หลายเรื่อง ประเด็นทางประวัติศาสตร์ที่หนังต้องการสื่อถึงและเน้นย้ำอย่างมากก็คือ ทหารอเมริกันปฏิบัติภารกิจในเวียดนามแบบไร้อุดมการณ์ ไร้เป้ามาย ทั้งกลุ่มของจ่าเอไลแอส และจ่าบาร์นไม่ได้อุทิศชีวิตให้กับภารกิจในเวียดนาม เพียงแค่เอาตัวรอดไปวันๆ จนถึงเวลากลับ (ดูแล้วเหมือนกับทหารและตำรวจจากต่างถิ่นบางนายที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในสาม จังหวัดชายแดนใต้ในขณะนี้) ต่างจากแนวร่วมเวียดกงและทหารเวียดนามเหนือที่รบด้วยอุดมการณ์และจิตวิญญาณ ซึ่งก็เป็นไปตามประวัติศาสตร์ที่แท้จริง แล้วดูเหมือนกับจะเป็นการบอกว่า อเมริกาเข้ามารบในเวียดนามโดยขาดหลักการของคำว่า รู้เขา รู้เรา จึงนับเป็นความเพลี่ยงพล้ำครั้งสำคัญในสงครามเย็น
http://movie2do.com/platoon-1986-%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b9%e0%b8%99-%e0%b8%aa%e0%b8%87%e0%b8%84%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a7%e0%b8%b5%e0%b8%a2%e0%b8%94%e0%b8%99%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%94-1986/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น